ในอดีต การเชื่อมต่ออินทอร์เน็ตกับโครงข่ายระหว่างประเทศต้องเชื่อมต่อผ่าน อินเทอร์เน็ตเกตเวย์ (Internet Gateway) หรือที่เรียกว่า IIG (International Internet Gateway) ซึ่งให้บริการโดยการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท) เพียงช่องทางเดียวเท่านั้น แต่ปัจจุบันนี้ ทรู ได้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเกตเวย์แล้วเช่นกัน โดยมีชื่อเรียกช่องทางการเชื่อมต่อนี้ว่า TIG (True Internet Gateway) ซึ่งทำหน้าที่เป็นอีกหนึ่งช่องทางในการเชื่อมต่อนเทอร์เน็ตกับโครงข่าย ระหว่างประเทศ อันจะช่วยลดความหนาแน่นของจำนวนผู่ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านช่องทาง IIG ส่งผลให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถเข้าเว็บต่างประเทศได้รวดเร็วขึ้น ทั้งยังทำหน้าที่เสมือนเป็นช่องทางสำรองในกรณีที่ช่องทางของ กสท. เกิดเหตุขัดข้องและไม่สามารถให้บริการเชื่อมต่อระหว่างประเทศได้
การเกิด “ทรู อินเทอร์เน็ต เกตเวย์” ถึงเป็นการเปิดเกมรุกของบริการ “อินเทอร์เน็ตเกตเวย์” เป็นการไล่ต้อน กสท ในเรื่องคุณภาพและราคา ซึ่งหลังจากที่ทรูได้รับอนุญาตให้ต่อตรงเกตเวย์เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2550 และได้ดำเนินการเพิ่มความเร็วอินเทอร์เน็ตให้ลูกค้าเดิมที่ใช้สปีด 256 kbps เป็น 512 Kbps การเปิดเว็บไซต์ www.trueinternet.com.th/networkstatus/index.htmn เพื่อแสดงข้อมูลเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการและสร้างความมั่นใจว่ามี คุณภาพไปตามมาตรฐานโลก
เว็บไซต์ดังกล่าวแสดงผลการทดสอบข้อมูล access to web แสดงระยะเวลาในการเรียกข้อมูลหน้าเว็บตั้งแต่มีการติดต่อจากคอมพิวเตอร์ไป ยังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ปลายทาง รวมกับเวลาที่ใช้ในการดึงข้อมูลหน้าเว็บ และส่งกลับมาแสดงผลยังคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้บริการ รวมถึงข้อมูล PING access time เวลาที่ใช้ในการติดต่อจาคอมพิวเตอร์ต้นทางไปยังเครื่องปลายทางและย้อนกลับมา ที่คอมพิวเตอร์ต้นทางทันที โดยไม่มีการถ่ายโอนข้อมูลหน้าเว็บเกิดขึ้น และการทดสอบ FTP access time ระยะเวลาที่ใช้ในการดึงข้อมูลจากเครื่องต้นทางไปยังปลายทาง รวมกับเวลาที่ใช้ในการถ่ายโอนข้อมูลกลับมาที่คอมพิวเตอร์ต้นทาง
นอกจากนี้ยังมีข้อมูลสถิติการให้บริการต่างๆ เช่น สถิติการเกิดเหตุขัดข้องในการเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศของ IIG (International Internet Gateway) และ TIG (True Internet Gateway)
ทางทรูได้ตอกย้ำว่าการมีเกตเวย์ใหม่ ส่งผลดีเพราะเป็นการขยายคุณภาพการบริการที่เหนือกว่า ขยายช่องทาง เน็ตเร็วทันใน ไม่ติดขัด ปัญหาการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่ล่าช้า หรือปัญหาเรื่องคอขวดในเวลาที่ทุกคนใช้พร้อมๆกันจะลดลง เพราะการเพิ่มเกตเวย์ใหม่คือการเพิ่มปริมาณช่องทางเชื่อมต่อโครงข่ายอิน เทอร์เน็ตต่างประเทศให้มากขึ้น เพิ่มโอกาสของผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (Interne Service Provider, ISP) ทุกๆราย สามารถขยายช่องทางบริการได้อีกหลายเท่าตัวพร้อมมีช่องทางสำรองเพียงพอเพื่อ อนาคต ซึ่งย่อมส่งผลดีต่อผู้ใช้บริการปลายทางทุกๆคนด้วยเช่นกัน
การเพิ่มเกตเวย์เป็นการเพิ่มระบบสำรองการเชื่อมต่อโครงข่ายทั้งในและ ต่างประเทศ และทำให้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมีเสถียรภาพมากขึ้น เมื่อใดก็ตามที่เกิดภัยธรรมชาติหรือเหตุการณ์อื่นๆ ซึ่งมีผลกระทบต่อการเชื่อมต่อกับโครงข่ายต่างประเทศ ก็มั่นใจได้ว่า ประเทศไทยจะไม่ขาดการติดต่อจากโลกภายนอก เพราะยังมีเส้นทางติดต่อต่างประเทศสำรองที่ผู้ให้บริการเกตเวย์ทุกๆราย ได้วางไว้ในตำแหน่งเส้นทางที่หลากหลาย
นอกจากผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจะได้ท่องโลกสนุกสนานหรือรู้ทันข่าวสาร เหตุการณ์ได้สะดวกรวดเร็วกว่าเดิมแล้ว ด้านบริการหลักและบริการเสริมอื่นๆ จากผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทุกรายจะได้รับการผลักดันให้มีความหลากหลายและ มีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งจะนำไปสู่ความเป็นมาตรฐานสากลมากขึ้น และผู้บริโภคก็ได้รับประโยชน์นี้โดยตรง เรียกได้ว่ามีการอัพเดททันสมัย ทัดเทียมต่างประเทศได้ตลอดเวลา
การเพิ่มช่องทางการเชื่อมต่อเกตเวย์ในต่างประเทศที่มีมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการแข่งขันในตลาดอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ในด้านราคา ซึ่ง ISP จะได้รับประโยชน์โดยตรงจากการแข่งขันนี้ และท้ายที่สุด ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตจะได้รับผลประโยชน์เต็มที่ ในเรื่องราคาที่คุ้มค่าและประหยัดกว่า บนมาตรฐานบริการที่ดีเยี่ยม
ทรูมองว่าในแง่ของภาพรวมประเทศก็จะไม่มีปัญหาการขาดแคลนแบนด์วิดท์อีก ต่อไป และเกตเวย์ของประเทศก็จะมีเส้นทางสำรองหลายเส้นทาง หากเกิดกรณีแผ่นดินไหวจนสายเคเบิลขาด อินเทอร์เน็ตในไทยก็ยังสามารถให้บริการต่อไปได้และถ้ามีการแข่งขันมากขึ้นก็ จะทำให้อัตราค่าบริการถูกลงอีก เพราะในธุรกิจนี้มีแกนการแข่งขันแค่ 2 อย่างคือราคากับบริการ รายใหม่เข้ามาแย่งลูกค้าก็ต้องลดราคา ซึ่งในที่สุดก็ต้องวัดกันที่คุณภาพ
ด้าน กสท หลังจากปล่อยให้ทรูเปิดเกมรุกมาระยะหนึ่ง ล่าสุดก็ออกมาประกาศสงคราม ยืนยันพร้อมแข่งขันกับผู้ประกอบการรายใหม่ในธุรกิจอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ และเห็นว่าการมีผู้ประกอบการรายใหม่เข้ามาเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาบริการอิน เทอร์เน็ตเกตเวย์และ ISP ซึ่งเป็นลูกค้าจะได้รับรู้ข้อเท็จจริงว่าบริการ IIG ของ กสท มีคุณภาพและคุ้มค่าอย่างไร
ซึ่งกสท ก็ยืนยันความมั่นใจในความเป็นเจ้าของโครงข่ายที่ใหญ่กว่าผู้ประกอบการราย อื่นในประเทศ มีวงจรเชื่อมต่อกับผู้ประกอบการที่ให้บริการ IIG กว่า 12 รายทั่วโลก ทั้งยังเตรียมรับมือด้วยการขยายความจุวงจร (bandwidth) จาก 9 GB/Sec เป็น 15GB/Sec
กสท ยังย้ำว่าตนมีดีในส่วนของการมีประสบการณ์ในธุรกิจอินเทอร์เน็ตเกตเวย์มากว่า 10 ปี โดยเป็นองค์กรที่ไม่แสวงผลกำไรสูงสุดแต่คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อรองรับความต้องการของชาติและประชาชน และมีความซื่อสัตย์ และอีกไม่นานจะมีการดำเนินการหลายด้านทั้งการทำ IP Peering ซึ่งเป็นการส่งผ่านข้อมูลตรงระหว่างประเทศกับผู้ประกอบการ IIG ที่กสท มี Connection ทำให้ติดต่อได้รวดเร็วกว่าปกติ
ทั้งนี้ การเปิดเสรีอินเทอร์เน็ตเกตเวย์ ถูกมองว่าเป็นการยกเลิกการผูกขาดพร้อมผลักดันตลาดไอเอสพีให้โต อย่างไรก็ตามมี ISP รายย่อยหลายรายมีข้อสังเกตว่า การเปิดเสรีจุดเชื่อมต่อระหว่างประเทศ เป็นการเอื้อประโยชน์ต่อผู้ให้บริการรายใหญ่ที่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง และให้บริการอินเทอร์เน็ตมากกว่า เช่น ทรู ทีโอที ทีทีแอนด์ที เพราะการเปิดเสรีจะช่วยให้ลดต้นทุนจุดเชื่อมต่อและสามารถราคาค่าบริการอิน เทอร์เน็ตได้
ขณะที่ ISP รายย่อย ที่ไม่มีโครงข่ายเป็นของตนเอง อาจจะได้รับส่วนลดจากการเช่าช่องสัญญาณ แต่ก็ยังไม่สามารถแข่งขันในตลาดผู้ใช้ทั่วไปได้อยู่ดี เพราะ ISP ส่วนใหญ่ ก็ยังติดสัญญาเช่าใช้กับ กสท อยู่อย่างน้อย 1-5 ปี จะยกเลิกก็เสียค่ายยกเลิกสัญญาโดยเปล่าประโยชน์
อย่างไรก็ตาม เมื่อการแข่งขันมากขึ้นสิ่งที่ตามมาคือพัฒนาการด้านคุณภาพ ราคา และบริการหลังการขาย ซึ่งการเปิดเสรีดังกล่าวจะส่งผลดีมีทางเลือกที่มีคุณภาพแก่ประชาชนผู้ใช้ บริการ
ข่าว : Telecom Journal
http://www.onairnetwork.net : รับวางโคโล , โคโล , โคโลเคชั่น , ติดตั้งโคโล , ติดตั้งระบบเน็ท , อินเทอร์เน็ต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น