www.onairnetwork.net : รับวางโค,รับวางโคโล,รับวาง servr, โคโลเคชั่น , เครื่องเช่า , รับออกแบบเว็บไซต์ รองรับระบบ SEO , ตัวแทนจำหน่าย DELL , Colocation Server , Dedicated Server , Datacenter space rental , Thai Colocation , Thai Dedicated server
วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2553
ประเภทของโดเมนเนม (Type of Domain)
ประเภทของโดเมนเนม ประเภทของโดเมนเนม ในปัจจุบันนั้น มีมากมายหลายประเภท ซึ่งส่วนใหญ่คนเรามักจะคิดว่า ประเภทของโดเมน มีแค่ .com .net .info .org แต่ความจริงแล้ว ประเภทของโดเมนเนม หรือ นามสกุลของโดเมน มีหลากหลายมากกว่านั้น โดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 1) โดเมนเนม 2 ระดับ จะเป็น โดเมนเนม ที่เรียกว่าระดับสูงที่สุด โดย จะประกอบไปด้วย ชื่อโดเมน ตามด้วย นามสกุลโดเมน หรือประเภทของโดเมน โดย ประเภทของโดเมนที่เข้าข่าย ประเภทนี้ ได้แก่ .com .net .info .org .edu .gov เป็นต้น ส่วนอีกประเภท ได้แก่ โดเมนเนม 3 ระดับ หรือ โดเมนเนมแต่ละประเทศ ซึ่งจะประกอบไปด้วย ชื่อโดเมน ตามด้วยนามสกุล และคำย่อของประเทศ เช่น .co.th ,.ac.th เป็นต้น
โดเมนเนม (domain)
โดเมนเนม คือ ชื่อที่ใช้แทนเว็บไซต์ ซึ่งกำหนดขึ้นมาเพื่อสะดวกในการเข้าถึงเว็บไซต์ ซึ่งก่อนหน้าที่จะมีการกำหนดโดเมนเนม นั้นจะใช้หมายเลขไอพีแอสเดรส เป็นตัวแทนของเว็บไซต์ โดย โดเมนเนมนั้น มีความยาวได้ไม่เกิน 63 ตัวอักษร และจะประกอบไปด้วย ตัวอักษรและตัวเลข ซึ่งในปัจจุบันนี้ ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษอย่างเดียวแล้ว เพราะตัวอักษรภาษาไทย หรือตัวอักษรท้องถิ่นของประเทศต่างๆก็สามารถใช้จดโดเมนได้ ซึ่ง โดเมนเนมนั้น มีหลายประเภท โดยสิ่งที่ใช้วัดประเภทของโดเมนเนม เรียกว่า นามสกุล ปัจจุบัน นามสกุลของโดเมนเนมที่ได้รับความนิยมมาก ได้แก่ .com .net .org .info ซึ่งก็มีความหมายแตกต่างกันไป แต่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ได้แก่ .com
วันเสาร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2553
วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553
วันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2553
วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2553
วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553
Web Acessability : Prototyping
สาเหตุที่ต้องทำ prototype
เราไม่สามารถทดสอบโปรแกรมได้จนกว่าโปรแกรมจะเสร็จ แต่ถ้าจะให้มันใช้งานได้เหมือนจริงเลยก็มีค่าใช้จ่ายสูงสิ้นเปลืองทั้งเวลากำลังคน และถ้าพบข้อบกพร่องเมื่องานเสร็จแล้วก็จะยิ่งยากในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงและเปลืองงบประมาณมาก ถ้างานที่ทำเสร็จแล้วมันแย่จริงก็ต้องทิ้งมันไป
แก้ปัญหาเหล่านั้นโดย
สร้างPrototype ที่เป็นฟังก์ชั่นพื้นฐานโดยเน้นที่ interface ทดสอบ Prototype ที่คาดว่าจะมีข้อผิดพลาด แก้ข้อผิดพลาดนั้น ทำซ้ำจนกระทั้งได้การออกแบบที่คิดว่าหมดข้อผิดพลาดดหรือบางอย่างสามารถละได้ มันเป็นอุปกรณ์หลักในการปรับปรุง usability ใช้กันมากในระดับอุตสาหกรรมเช่น สร้างแบบจำลองเครื่องบินมาบินในอุโมงค์ลมก่อนเพราะถ้าทดสอบกับของจริงแพงมาก
มุมมองของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ผู้ออกแบบโปรแกรมอาจจะไม่เข้าใจการทำ Prototype อย่างเพียงพอ ทางด้านผู้ใช้อาจจะไม่เข้าใจ Prototype อย่างเพียงพอเช่นกัน ต้องให้ทั้งสองฝ่ายมาคุยกันเกี่ยวกับ Prototype
ในส่วนของการพัฒนาเว็บไซด์
ออกแบบ, อาจจะมี Prototype อันเดียวหรือหลายอันนำมาใช้ทดสอบและก็ทำการปรับจนพอใจ, พัฒนาระบบ, นำไปใช้งาน
Prototype มี 2 ชนิด
- Evolutionary : Prototype ที่สุดท้ายแล้วจะกลายเป็นผลิตภัณฑ์จริง ขึ้นมาได้ เช่น เกมส์ที่พัฒนาไปเรื่อยๆ
- Revolutionary : แบบใช้แล้วทิ้งไป ไม่ว่าจะเติมแต่งยังไงก็ใช้งานจริงไม่ได้ ต้องทิ้งไป เช่น ออกแบบบนกระดาษ บ้านจำลอง
Horizontal prototype: กว้างตื้น
Vertical prototype: ลึกแคบ อาจจะมีแค่บาง function เช่น ขายของแต่ทำจนเสร็จ
ประโยชน์ของ prototype
1. เพื่อปรับปรุงข้อผิดพลาดหรือพยายามหาข้อผิดพลาดทีซ่อนอยู่ออกมาเพื่อแก้ไขในช่วงแรกๆของการพัฒนาไม่ใช่หลังจากใช้งานได้แล้ว
2. ผู้ใช้ชอบแบบนี้มาก
3. ผู้ใช้จะได้เข้าใจเป็นรูปธรรมในสิ่งที่เรากำลังทำและเลือกได้ว่าชอบอันไหนมากกว่ากัน
4. เป็นการดึงให้ผู้ใช้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาตั้งแต่เนิ่นๆ
Low-fidelity prototypes:
- ไม่เปลืองเพราะใช้อุปกรณ์ราคาถูกและประหยัดเวลาและแรงงาน
- ง่ายและเร็วที่จะทำหรือเรียนรู้
- เมื่อทดสอบแล้วผ่านก็สามารถทำให้งานเดินหน้าได้อย่างมั่นใจ
- ไม่ต้องรอ developers สร้าง (computer-based) prototype คือใครก็สามารถทำได้
- แก้ไขได้เร็วกว่าการแก้ code
- ทำการแก้ไขได้หลายๆครั้งโดยใช้เวลาน้อยจนกว่าจะได้ข้อสรุป
High-fidelity prototypes:
- มีการใช้งานใกล้เคียงกับของจริงทำให้ผู้ใช้เหมือนได้ลองใช้จริง
- เห็นการกระทำที่เกิดขี้นจริงเช่นการ click แล้วเกิดอะไรขี้น
- มีความเป็นทางการและมีความสวยงาม
ข้อเสีย
บางครั้ง Prototype ดูดีมากจนเกินไปจนทำให้ผู้ใช้คิดว่างานใกล้เสร็จแล้วเร่งให้ส่งงาน วิธีแก้คือการใช้ Low-fidelity prototypes
Low-fidelity prototypes:
- ผู้ใช้อาจเห็นภาพไม่ชัดเจนในสิ่งที่สามารถ click ได้
- อาจแสดงให้เห็นถึงความไม่เป็นทางการในบาง project
High-fidelity prototypes:
- ใช้เวลาในการสร้างนาน
- ถ้ามีการแก้ไขจะใช้เวลาในการแก้ไขนาน
- ข้อผิดพลาด (bug) เพียงตัวเดียวอาจทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถทดสอบระบบได้
ดูข้อมูลอื่นๆเพิ่มเติม : http://onairnetwork.net/main/
Article Source: กำลังอัพเดท
Google URL Shortener
goo.gl/6srC
goo.gl/wROX
goo.gl/Ppjn
goo.gl/ZU08